ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

" ตระกร้าหวาย นามูลฮิ้น " บ้านนามูลฮิ้น หมู่ 9 ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม


วันอาทิตย์ที่ผ่านมา  ได้แวะไปดูชาวบ้านนามูลฮิ้นเขาสานตระกร้าหวายสินค้า 5 ดาว
ของตำบลนาทราย  อำเภอเมืองนครพนม  ก็พบว่าตระกร้าหวายที่นี่ยังขายดีเหมือนเดิม







บ้านนามูลฮิ้น หมู่ 9 ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม




บนถนนเส้นนี้  มีผู้สานตระกร้าหวายอยู่หลายเจ้า


แต่ในซอยนี้  มีคนทำอยู่  3 - 4  ราย


เริ่มบ้านแรกที่ก้นซอย  
ที่บ้านของ ป้าจันทร์  ไชยรัตน์  อายุ 54 ปี
บ้านเลขที่ 231 หมู่ 9 บ้านนามูลฮิ้น  ตำบลนาทราย  อำเภอเมืองนครพนม






ลุงอุทัย  ไชยรัตน์  อายุ  54 ปี  ผู้สามี


" ผัวเหลาหวาย  เมียสานตระกร้า " ทั้งสองช่วยกันสานตระกร้าหวายทุกวัน
เคยเป็นสมาชิกในกลุ่มจักสานบ้านนามูลฮิ้น  แต่ด้วยติดขัดเงินหมุนเวียน
จึงออกจากกลุ่มฯ  แล้วทำเองขายเองกับคนรับซื้อด้วยราคาที่ลดลงนิดหน่อย
ด้วยทุนน้อยและความพิถีพิถันในการสาน  ทั้งเดือนจึงทำได้ราวๆ 20 ใบ  
เมื่อหักค่าวัตถุดิบแล้ว  ก็มีรายได้เฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน  ไม่พออยู่ไม่พอกิน


มีลูก 2 คน  คนแรกมีครอบครัวไปแล้ว  คงเหลือคนเล็กที่ไปหางานทำในกรุงเทพ






ทุกวันนี้ทั้งสองมีปัญหาเงินไม่พอใช้  จนต้องออกไปหาจับกบจับเขียดมาเป็นอาหาร
และเรื่องวัตถุดิบคือ หวาย  ที่หมดทีก็ออกไปหาซื้อที ซึ่งต้องไปหาซื้อไกลถึงท่าอุเทน
จึงต้องการเงินทุน  ไปซื้อข้าวสารอาหารแห้งและไปหาซื้อหวาย มาเก็บสำรองให้มากๆ
  จะได้มีเวลาสานตระกร้าให้เต็มที่เผื่อว่าจะได้ผลผลิตมากขึ้น  ไม่ต้องพะวงใจกับเรื่องอื่นๆ
ใคร จะช่วยพวกเขาได้  ???????????


นายทวีชัย  ทาตะนาม 
บ้านเลขที่ 145 หมู่ 9 บ้านนามูลฮิ้น  ตำบลนาทราย  อำเภอเมืองนครพนม


กำลังพักกินข้าว  แต่ทุกคนก็ไม่อยู่ห่างจากตระกร้าหวาย


บ้านนี้ช่วยกันทำหลายคน  จึงมีผลงานมากกว่าบ้านอื่น เฉลี่ยร้อยกว่าใบต่อเดือน
ทำได้เท่าไหร่  พ่อค้าคนกลางก็จะเข้ามารับซื้อทั้งหมด  จนไม่มีสินค้าโชว์


ถัดมาอีกหน่อย  เป็นบ้านของป้าพางซึ่งกำลังสานตระกร้าอยู่พอดี


ป้าพาง  เพ็งคำภู








ป้าพาง  เพ็งคำภู  อายุ 60 ปี
บ้านเลขที่  70 /1 หมู่ 9 บ้านนามูลฮิ้น ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม


เธอสานตระกร้ามากว่า 10 ปีแล้ว  ทำได้ประมาณ 20 ใบต่อเดือน
ขายให้แต่พ่อค้าขาประจำในราคาใบละ 250 บาท  เธอทำคนเดียว
ร่างกายยังแข็งแรง  หูตาก็ยังดี  แต่มีปัญญาทำได้แค่นี้  จึงไม่พออยู่พอกิน


บ้านหลังนี้เจ้าของไม่อยู่  จึงแอบถ่ายรูปมาฝาก







ป้าถิน  ไชยโพธิ์  อายุ 62 ปี อยู่ที่ 256 หมู่ 9  บ้านนามูลฮิ้น 
สานตระกร้าหวายมากว่า 10 ปีแล้ว ด้วยฝีมือที่ละเอียดและมีภาระต้อง
เลี้ยงหลานตัวน้อยๆด้วย  จึงสานตระกร้าหวายได้เพียงเดือนละ 4 ใบ
ตระกร้าหวายฝีมือของเธอ  จึงแพงถึงใบละ 400 บาท  



วัดศรีโสภาพ  บ้านนามูลฮิ้น  หมู่ 9  ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม



ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนจักสานหวายและไม้ไผ่นามูลฮิ้น  
บ้านนามูลฮิ้น  หมู่ 2 และ 9 ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ในวันปรกติจะปิดประตูเสมอ



ถ้าช่วงใดมีงานเข้า  ที่นี่ก็จะมีตระกร้าหวายมาโชว์เต็มชั้น ในศูนย์แห่งนี้




กลุ่มจักสานหวายและไม้ไผ่บ้านนามูลฮิ้น หมู่ 9 ตำบลนาทราย  อำเภอเมืองนครพนม  
เกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้าน  มาทำงานจักสานจากหวายและไม้ไผ่  
มีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง  แต่ปัจจุบันคงทำแต่งานสาน " ตระกร้าหวาย "
เพราะราคาดีคุ้มเหนื่อย



ในกลุ่มนี้มี 7 - 8 คนจะทำงานที่ใต้ต้นมะม่วง หน้าวัดศรีโสภาพ


กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จักสานหวายและไม้ไผ่นามูลฮิ้น
บ้านนามูลฮิ้น หมู่ 2 -9  ตำบลนาทราย  อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม



วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

" ผลผลิตจากไหล " กลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม




ที่ทำการของกลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด
บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 3  ตำบลท่าลาด  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม


ที่ทำการคณะกรรมการหมู่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านโนนสว่าง ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม



ศูนย์เรียนรู้ชุมชน 
บ้านโนนสว่าง  หมู่ที่ 3 ตำบลท่าลาด  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม



สินค้าในตู้โชว์  ที่ล้วนแล้วเป็นผลผลิตของกลุ่ม " จักสานด้วยกกตำบลท่าลาด "


เมื่อพิจารณาดูผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯแล้ว ก็ต้องยอมรับในความละเอียดประณีต


ชอบที่สุด ก็คงเป็น กระติ๊บ และ หมวก  ที่สวยและนับว่าจะเป็นสินค้าที่มีอนาคต
ราคาก็สมเหตุสมผล ประมาณ  60- 100 บาท  
จึงขอเชิญทุกท่านที่มาเยือนอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
ก็แวะมาเยี่ยมชม สินค้าของชาวตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร ด้วยนะครับ




ผู้ที่สนใจสามารถขอเข้าศึกษาเรียนรู้จาก " กลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด "
ได้ตลอดเวลา   และติดต่อโดยตรงที่กลุ่มได้เลย  ไม่ต้องผ่าน อบต.ท่าลาด


คุณอะนงรัก  เพ็งเวลุน  รองประธานกลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด




คุณนิรมล  สุนิกร  ปฏิคมของกลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด
ทำงานกิจประจำวันในอิริยาบทที่ถนัดและเป็นธรรมชาติของเธอ 






ต้นไหล หรือ ต้นกก 
ปลูกง่ายแค่ตัดยอดมาเพาะชำ  เมื่อมีรากก็นำมาปลูกลงดิน หรือ กระถางได้
สมควรที่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมสนับสนุนการปลูก " ต้นไหล "
ให้มีปริมาณมากกว่านี้  เพื่อจะได้รองรับการผลิตที่จะมีมากขึ้นในอนาคต 




ที่ทำการของ " กลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด "
บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 3 ตำบลท่าลาด  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม